About DwThai.Com 00

DwThai.Com Logo

DwThai.Com

Tip and Trick Dreamweaver

ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๖





ค้นหาข้อมูลใน DwThai.Com

Upload %E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%99 Web Hosting %E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2 Dreamweaver [Article ID : 24]


เรื่อง : Dreamweaver กับการ Upload ไฟล์เว็บไซต์ไปยัง Web Hosting

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีน้องคนหนึ่งโทรเข้ามาสอบถามเรื่องของการใช้งาน FTP โดยการใช้ Dreamweaver ผมก็พยายามอธิบายทางโทรศัพท์ไป ก็อธิบายให้กระจ่างที่สุดแล้วละครับ แต่รู้สึกว่าน้องเขายังทำไม่ได้อยู่ดี ผมก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะอธิบายด้วยเสียงมันไม่สามารถเห็นภาพได้ นี้คือที่มาว่าทำไมผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้นมา

กว่า 90% คำถามด้านการพัฒนาเว็บไซต์จะไม่สามารถตอบได้ทางโทรศัพท์ เพราะ ผู้ตอบนั้น ไม่เห็นสิ่งที่เป็นปัญหา หรือผู้ถามสื่อสารไม่ชัดเจน เช่น เรียกชื่อ Icon ไม่ถูกต้อง แบบนี้ก็ทำให้ผู้ตอบไม่สามารถตอบปัญหาให้ได้ เป็นต้น

เตรียมข้อมูลก่อนการ Upload

ก่อนที่เราจะไปใช้โปรแกรม Dreamweaver ทำการ Upload ไฟล์ ให้เราทำการจัดเตรียมข้อมูลที่จำเป็นต่อการอัพโหลดกันก่อน ดังนี้
- FTP Address คือ ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ของ FTP ที่เราจะทำการติดต่อเพื่ออัพโหลดไฟล์
- Username และ Password คือ ข้อมูลที่จะใช้ในการ Login เข้าสู่ FTP Server
ข้อมูลข้างต้น คือ ข้อมูลพื้นฐานที่จะต้องใช้งานการติดต่อ (Connect) เพื่อการ Upload ไฟล์ครับ 
ซึ่งถ้าคุณไม่ทราบ ให้สอบถามจาก Admin หรือสอบถามไปยังผู้ให้บริการ Web Hosting ที่คุณใช้บริการ 

Setup ตั้งค่าการอัพโหลดไฟล์กับ Dreamweaver

เมื่อเราได้จัดเตรียมข้อมูลข้างต้นแล้ว ให้คุณทำการตั้ง Site ของเว็บไซค์คุณ (อ่านเรื่องการตั้งไซต์) เสียก่อน จากนั้นปฏิบัติตาม ดังนี้

1. ไปที่ Menu -> Site -> Manage Sites ซึ่งการเปิดไซต์แบบนี้กรณีที่คุณได้ทำการตั้งไซด์ไว้แล้วนะครับ
*แต่ถ้ายังไม่ได้ตั้งไซต์สามารถทำการกำหนดค่า FTP พร้อมไปกับการตั้ง Site งานได้เลยครับ 2. เลือกไซต์ที่คุณต้องการจะ Upload ไฟล์ไปไว้บน Web Hosting แล้วคลิปที่ไอคอน Edit the currentlry selected site หรือไอคอนรูปดินสอ ดังรูป 3. โปรแกรมจะทำการเปิดหน้าต่าง Site Setup ขึ้นมา ที่หน้าต่างนี้ให้เลือกไปที่หมวด Server จากนั้นคลิกที่ Add new server เครื่องหมายบวก (+) ดังรูป 4. ในส่วนของการกำหนดค่า ให้ทำการกำหนดค่า ดังรูป Connect using : เลือกที่ FTP *ค่าอื่นใช้ตามข้อมูลที่ได้จัดเตรียมดังที่ได้อธิบายไปข้างต้น

5. เมื่อกำหนดค่าเสร็จสิ้นแล้ว กดที่ปุ่ม Save ของหน้าต่าง Site Setup ดังรูป *สังเกตได้ว่าเราจะพบรายการ Server ปรากฎดังรูปข้างต้น

ทดสอบการ Upload

เมื่อได้ทำการกำหนดค่าต่าง ๆ ดังที่ผ่านมาแล้ว จากนั้นจะมาทำการ Upload ไฟล์กัน โดยสามารถทำได้ ดังนี้

ก่อนอัพโหลดต้อง Connect ให้ได้เสียก่อน

ก่อนจะทำการอัพโหลดไฟล์ เราต้องทำการเชื่อมต่อ หรือ Connect ไปที่ Web Hosting ของเราให้ได้เสียก่อน ดังนี้

6. เปิดหน้าต่าง Files Panel ขึ้นมา โดยไปที่ Menu -> Window -> Files ดังรูป 7. ที่หน้าต่างไฟล์ให้กดไปที่ไอคอน Expand to show... เพื่อทำให้หน้าต่างขยายให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น จะได้สะดวกต่อการใช้งาน ดังรูป 8. เมื่อหน้าต่าง Files ขยายขึ้นมาแล้ว ทำการ Connect ไปที่ Hosting โดยกดไปที่ไอคอน Connect to... ดังรูป 9. หากโปรแกรมทำการเชื่อมต่อสำเร็จ จะแสดง ดังรูป *ซ้ายมือ คือ ฝั่งของ Web Hosting
*ขวามือ คือ ฝั่งของเครื่องเรา หรือ Local
หากเชื่อมต่อไม่สำเร็จ คุณอาจต้องย้อนไปสู่การกำหนดค่าใหม่ในขั้นตอนต้นที่ผ่านมา เช่น เรื่องของ FTP Address, Username, Password เป็นต้น

อัพโหลดไฟล์เว็บไปไว้บน Web Hosting

เมื่อได้ทำการเชื่อมต่อหรือ Connect ไปยัง Web Hosting สำเร็จแล้ว ต่อมาก็ต้องทำการ Upload ไฟล์เว็บที่อยู่ในเครื่องของเรา ขึ้นไปไว้ที่ Web Hosting ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้

10. ที่ไฟล์ฝั่งเครื่องของเรา (Local) ทำการคลิกที่ไซต์เพื่อกระจายไฟล์ออกมา ดังรูป 11. จากนั้น ให้ทำการเลือกไฟล์ที่ต้องการอัพโหลด
12. เมื่อเลือกไฟล์ได้แล้ว คลิกที่ไอคอน Put file(s) ดังรูป 13. หากขณะอัพโหลดมีหน้าต่างแจ้งเตือนแสดงขึ้นมาดังรูป ให้กดที่ปุ่ม Yes เนื่องจากโปรแกรมจะทำการอัพโหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับไฟล์ที่เราเลือกอัพโหลดไปให้ด้วย เช่น หากไฟล์เว็บเพจที่กำลัง Put มีการใช้งานรูปภาพ ไฟล์รูปภาพที่เกี่ยวข้อง ก็จะถูกอัพโหลดไปให้ในคราวเดียวกัน (สะดวกไหมครับ ?) ดังรูป 14. เมื่อทำการอัพโหลดแล้ว ให้สังเกตที่ฝั่ง Hosting หรือฝั่ง Server จะพบว่ามีไฟล์เว็บเพจที่ได้ทำการอัพโหลดไปปรากฎ ดังรูป เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการอัพโหลด....
หมายเหตุ
สำหรับ Directory หรือ Folder ในฝั่งของ Web Hosting นั้น เราต้องสอบถามไปยังผู้ให้บริการว่า เราต้อง Upload ไฟล์เว็บของเราไปวางไว้ที่ Folder ตำแหน่งใดบน Web Hosting ครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็น public_html (ดั่งรูป) หรือไม่ก็ www หรืออาจจะไม่ใช่ อันนี้ขึ้นอยู่กับ Web Hosting ที่คุณใช้บริการ
Request for MySQLi Database Connector

ตัดการเชื่อมต่อกับ Web Hosting (Disconnect)

เมื่อได้อัพโหลดแล้ว หากไม่มีความต้องการใช้งานแล้ว เราต้องทำการ Disconnect หรือตัดการเชื่อมต่อกับ Web Hosting ดังนี้

15. ที่หน้าต่าง Files คลิกที่ไอคอน Disconnect ดังรูป
ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการใช้ Adobe Dreamweaver ในการอัพโหลดไฟล์ไปไว้ยัง Web Hosting ของเราครับ ซึ่งเท่าที่เคยใช้มา ทุก ๆ เวอร์ชั่นของ Dreamweaver ก็จะใช้งานเหมือน ๆ กันครับในส่วนของการ Upload นี้ อย่างไรลองใช้งานกันดูครับ สวัสดี.
About the Author
Mr.Sittichai Raksasuk

Mr.Sittichai Raksasuk

Sittichai is a Web Developer and Web Technology Instructor for over 10 yrs. He is also a webmaster of dwthai.com and author jQuery with Dreamweaver (2010). DwThai.Com is a website for web developer using Adobe Dreamweaver.

Contact with him : dwthai@gmail.com



บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

การทำ Refresh/Redirect ให้ Web Browser ด้วย Dreamweaver

เรื่อง : สั่งให้ Web Browser ทำการ Refersh หรือ Redirect ตัวเอง ใบบางครั้งเรามีความจำเป็นต้องทำการ Refresh ...  

สร้างโปรแกรมอ่าน RSS ด้วย Dreamweaver ตอนที่ 2

เรื่อง : สร้างโปรแกรมอ่าน RSS/XML ด้วย Dreamweaver ตอนที่ 2 หลังจากในตอนที่ 1 ของบทความได้แนะนำกล่าวถึงการกำหนดค่าต่าง ๆ เพ...  

เปิดหน้าต่าง Code เพื่อแก้ไขโค้ดได้อย่างรวดเร็ว

เรื่อง : เปิดหน้าต่างเพื่อแก้ไข Source Code เว็บเพจ (Code Inspector) ทุกครั้งที่ผู้ใช้งานโปรแกรม Dreamweaver ...  

สร้างรูปภาพให้ผู้ชมเว็บสามารถจับเคลื่อนย้ายไปมาได้

เรือง :: สร้างรูปภาพให้ผู้ชมเว็บสามารถจับเคลื่อนย้ายไปมาได้ (Drag Layer by Dreamweaver)สำหรับบทความนี้เป็นบทความการป...  


Copyright ©2003-2019 dwthai.com. All rights reserved.
This website was created by : S.raksasuk.

ติดต่อ DwThai.Com

e-mail : dwthai@gmail.com
mobile: 08-9495-7296

เขียน Guestbook : DwThai.Com

*
*
*